วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

Knowledge Management, Flipped Classroom Model 26/09/58

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM)


KM คือ
         การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
         การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
         รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น



นิยามของ KM
         ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล

สรุป
      การจัดการความรู้ คือ  การรวบรวม การสร้าง การจัดระเบียบ การแลกเปลี่ยน และการประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ ระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา อย่างมีประสิทธิภาพ


Flippled Classroom Model



สรุป

     การเรียนรู้แบบ Flippled Classroom Model คือ การลดเวลาเรียนรู้ที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาซึ่งจะเป็นการให้นักเรียนไปศึกษาและทำได้ที่บ้านโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วงในการเรียนรู้ซึ่งตามความเป็นจริงของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยและสามารถทำได้น้อยมากเพราะตามชนบทและการเข้าถึงทางด้านเทคโนโลยีหรือฐานะแล้วเป็นไปได้ยากมาก แต่อย่างใดก็ตามการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นแบบใดตามทฤษฎีใดๆก็ตามจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนรู้เป็นสำคัญและครูผู้สอนที่นำความรู้มาถ่ายทอดก็สำคัญเช่นกันค่ะ


การวิจัยในชั้นเรียน
 (Classroom Action Research :CAR)


กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ
1. การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน
2. กำหนดคำถามวิจัยที่ต้องการค้นหาคำตอบ  โดยการวิจัยปััญหาที่เกิดขึ้น
3. หาแนวทางแก้ไข (ใช้วงจร PAOR )
4. ลงมือปฏิบัติ
5. นำผลที่ได้ให้เพื่อนร่วมงาน/ผู้เกี่ยวข้องวิพากษ์วิจารณ์
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ
1. ขั้นการวางแผน(Planning)
2. ขั้นการปฏิบัติการ (Action)
3. ขั้นการสังเกตการณ์ (Observing)
4. ขั้นการสะท้อนผล (Reflect และหรือ Revise)

ขั้นการวางแผน
การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการ  จะเกิดขึ้นภายหลังการวิเคราะห์สภาพการณ์หรือปัญหาที่เกิิดขึ้นในการทำงาน  ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งคำถามวิจัย     ขั้นวางแผนประกอบด้วย  การวางแผนกิจกรรม  การวางแผนวิธีการ/เครื่องมือที่จะใช้พัฒนา  แหล่งข้อมูลที่ต้องการ  ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและระยะเวลาที่จะปฏิบัติ

ขั้นปฏิบัติการ

เป็นการนำแผนที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง

ขั้นการสังเกตการณ์
เป็นขั้นตอนของการแสดงวิธีการสังเกตและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้

ขั้นการสะท้อนผล

เป็นขั้นตอนของการตีความหมายของข้อมูลหรือแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ผลจะกระทำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันอภิปรายที่เกิดขึ้นร่วมกัน


 โดย อ.ดร.เพชรมณี   วิริยะสืบพงศ์
 
 

 
              การวิจัยในชั้นเรียน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Classroom Action Research คือกระบวนการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ    รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนเอง หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยใช้ได้เฉพาะกลุ่มที่ทำการศึกษา บางทีเราเรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

           Kemmis, S.กล่าวว่า Kurt Lewin เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"action reseach" โดยมีขอบเขตอยู่ที่การ แก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐจ้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (teacher as Research)ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
       

จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย

๑. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
- สอนไปแล้วมีปัญหา หรือนำปัญหาจากผลการสอนปีที่ผ่านมาหรือคิดหาวิธีการสอนใหม่ๆ มาช่วยให้การสอน สนุกสนานยิ่งขึ้นแล้วทำการวิจัยโดยไม่จำเป็นต้องเขียนเค้าโครงการวิจัยก็ได้ 




สรุป 
      การที่ครูจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น จำเป็นจะต้องมีการพัฒนางานในหน้าที่ของตนให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือคุณลักษณะของผู้เรียนหรือเรียกว่า ผลผลิตของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยที่ครูจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ละเอียดถี่ถ้วน อาศัยหลักวิชาการ ซึ่งกระบวนการนี้ก็คือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งครูสามารถเริ่มที่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของตน แล้วศึกษาค้นคว้าและแสวงหาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ที่คิดว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือเรียกว่า “นวัตกรรม” ทดลองใช้นวัตกรรมนี้ แล้วศึกษาผลการใช้นวัตกรรมว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ และเขียนรายงานการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่ม และนี่ก็คือ แนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพที่จะนำครูไปสู่ครูชั้นวิชาชีพชั้นสูง



นางสาวขนิษฐา มัชปาโต รหัสนักศึกษา 58723713303
นักศึกษา ป.บัณฑิตวิชาชีพครู 2558 หมู่ที่ 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สัปดาห์ที่ 8   26/09/58

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น