วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การสื่อสารกับการเรียนการสอน

การสื่อสารกับการเรียนการสอนเราแยกออกเป็น

1. การเรียนการสอนคือ
-             
                     การเรียนรู้
-                    การสอน


การเรียนเราจะมาศึกษาการเรียนแบบ PBL  คือ




1.ลักษณะทั่วไปของ การเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning),รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้               
1. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)             
2. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 35  คน)                
3. ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)   หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)                
4.ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้                
5. ลักษญะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย  อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ                
6. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)                  
7.การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment)  ดูจากความสามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน  
ขอบคุณที่มาของข้อมูล    รศ.มัณฑรา ธรรมบุศย์. การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning),”

2.การเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project-based Learning)


การเรียนรู้ด้วยโครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้ (teacher) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง   ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL จึงมิใช่ตัวความรู้ (knowledge) หรือวิธีการหาความรู้ (searching) แต่เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ (Life and Career skills) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา (critical thinking & problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communicating) และทักษะการสร้างความร่วมมือ (collaboration)ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย


สื่อ มี 2 แบบ คือ
1.       สื่อบุคคล
2.       สื่อที่เป็นอุปกรณ์
  เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์  (Cone of Experience )  แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
     1. ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
     2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
     3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
     4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
     5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
     6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
     7.โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
     8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
     9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
    10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
    11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด




  การจากกรวยประสบการณ์นี้  เดลได้จำแนกสื่อเป็น 3 ประเภท คือ

     1. สื่อประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกย่อยได้ 2 ลักษณะ
          1.1วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ
          1.2วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น แผ่นซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์
     2. สื่อประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
     3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/42824

ความหมายของนวัตกรรมการเรียนรู้

               นวัตกรรม(Innovation) มาจากคำบาลีว่า นวต + คำสันสกฤตว่า กรฺม และ คำภาษาอังกฤษว่า (Innovation) หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลไปจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิดคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น (พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน, 2542)
 “นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
ความหมายและความแตกต่างของ การวอเคราะห์และการสังเคราะห์
การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ
เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้

การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม ส่วนคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่
ซึ่งการสังเคราะห์ หมายถึง กระบวนบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไป
สรุปได้ว่า
                การสื่อสารกับการเรียนการสอนนั้นมีความเกี่ยวโยงกันอย่างเห็นได้ชัดจากทฤษฎีของ  เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์
                และเราก็ยังจำแนก การสื่อสารและการเรียนการสอนได้ดังนี้ 
การเรียนการสอนคือ
-   การเรียนรู้
-   การสอน
สื่อ มี 2 แบบ คือ
     1. สื่อบุคคล
     2. สื่อที่เป็นอุปกรณ์
ซึ่งในการเรียนการสอนและการใช้สื่อนั้นเราก้อยังนำนวัตกรรมเข้ามาร่วมด้วยคือ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นและต้องมีการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้งด้วย



                                                                                                                                                       นางสาวขนิษฐา มัชปาโต
                                                                                                                                               นักศึกษา ป.บัณฑิตวิชาชีพครู หมู่ที่ 3 
                                                                                                                                                   มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
                                                                                                                                                       สัปดาห์ที่ 2    15-08-58


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น